วิสัยทัศน์และพันธกิจ

1. วิสัยทัศน์ (Vision)

          “องค์กรคุณภาพ สร้างคนดี มีความสุขด้วยนวัตกรรม”

2. พันธกิจ (Mission)

  1. 1. พัฒนาระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สู่องค์กรคุณภาพตามมาตรฐาน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  2. 2. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตร ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และส่งเสริมความเป็นเลิศตามศักยภาพ
  3. 3. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำและความปลอดภัย ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
  4. 4. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณภาพด้วยนวัตกรรมสู่ความเป็นมืออาชีพ
  5. 5. ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการศึกษา และจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

3. ค่านิยม (Core Values)

          ค่านิยมในการทำงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
คุณธรรม คุณภาพ เอกภาพ  ครอบครัวร่วมพลังพัฒนา ประกอบด้วย

  1. ยึดมั่นธรรมาภิบาล (Good Governance: G)
  2. สร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Innovative Thinking: I)
  3. ร่วมใจทำงาน (Volunteer Mindset: V)
  4. บริการเป็นเลิศ (Excellent Service: E)

ภาพที่ 1 ค่านิยมในการทำงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

4. เป้าประสงค์หลัก (Goals)

  1. ผู้เรียน มีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่ อย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ
    มีความรักและความภูมิใจในความเป็นไทย
  2. ผู้เรียน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน สอดคล้องกับศักยภาพให้เป็นผู้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถวางแผนในการศึกษาต่อเพื่อการมีงานทำ และสามารถปรับตัวในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
  3. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความปลอดภัย สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ และได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
  4. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญและจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ
  5. สถานศึกษาจัดการศึกษา สร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาครูให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เชื่อมโยงนโยบายด้านดิจิทัลของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายด้านปัญญาประดิษฐ์
  6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล มีการกำกับติดตาม ประเมินผล มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ และการรายงานผลอย่างเป็นระบบ ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมการศึกษา

5. กลยุทธ์ (Strategies)

กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

กลยุทธ์ที่ 2 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพด้วยนวัตกรรมสู่ความเป็นมืออาชีพ

กลยุทธ์ที่ 4 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาระบบบริหารจัดการ นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา

6. แนวทางการขับเคลื่อน

          การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร            โดยยึดยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรอบในการกำหนดนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
โดยยึดบริบทพื้นที่ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ ภายใต้กรอบแนวคิด

การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ มีคุณภาพบนฐานนวัตกรรม

ขับเคลื่อนโดย 5P to 5Q Model  โดยแสดงรูปแบบการดำเนินงาน ตามภาพที่ 1

ภาพที่ 2 แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
ตามแนวทางการขับเคลื่อนโดย 5P to 5Q Model

โดยมีรายละเอียดของการขับเคลื่อนโดย 5P to 5Q Model ดังนี้

  1. ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายการจัดการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร บริบทเชิงพื้นที่โดยใช้พื้นที่เป็นฐานของจังหวัด
    ศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร และพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  2. กระบวนการ (Process) เป็นขั้นดำเนินการสอนตามแผนงาน/กิจกรรมที่ดำเนินการ โดยมีกระบวนการในการดำเนินงานโดยใช้ 5 กระบวนการ (5 Processes: 5P) ในการขับเคลื่อน มีกระบวนการ
    ที่ดำเนินการ ดังนี้

    2.1 กระบวนการบริหารจัดการ (Administrative Process) โดยการบริหารจัดการรอบด้านและครอบคลุม ตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติการ การจัดโครงสร้างองค์กร ไปจนถึงการควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่วางไว้ ประกอบด้วย การจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ การบริหารและการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลการบริหารและการจัดการศึกษา ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของหน่วยงาน ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษา

    2.2 กระบวนการจัดการเรียนการสอน (Instruction Process) โดยการจัดทำหลักสูตร และหรือพัฒนาหลักสูตร เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ เป็นคนดี คนเก่ง มีศักยภาพ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการรูปแบบที่หลายหลาย และเหมาะสมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ (Active Learning) โดยพิจารณาจาก

         1) จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติจริงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต

         2) ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

         3) บริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

         4) ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

         5) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

    2.3 กระบวนการสร้างเครือข่าย (Collaboration Process) โดยมีการสร้างและพัฒนาความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน สถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน และเครือข่าย จัดระบบการให้บริการและประสานความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายรวมทั้งประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียน สถานศึกษาและชุมชน รวมทั้งเสริมสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่นและสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา

    2.4 กระบวนการสนับสนุน (Facilitation Process)

          1) ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษา
เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา

          2) ส่งเสริม สนับสนุน วิเคราะห์ วิจัย และประสานด้านวิชาการ ร่วมทั้งส่งเสริมสนับสนุน
การพัฒนาหรือการนำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการศึกษา

          3) ส่งเสริม สนับสนุน การนิเทศการศึกษา มีการสร้างและสนับสนุนให้สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

             2.5 กระบวนการประเมินผลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Assessment for Research and Development Process) โดยมีการดำเนินการให้สอดคล้องกับบริบทของหน่วยการการศึกษามีการกำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการในการพัฒนาให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนมีทักษะการคิดและสร้างนวัตกรรม โดยประเมินผลการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมเพื่อนำมากำหนดนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ สร้างหรือนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สร้างการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีมในการบริหารการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาในเขตพื้นที่การศึกษาอย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืน

  1. ผลผลิต (Output) เป็นผลที่เกิดจากกระบวนการของการนำเอาปัจจัยมาปฏิบัติเพื่อให้เกิด ประสิทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยพิจารณถึงคุณภาพที่เกิดขึ้นตามมาตรฐาน โดยพิจารณาตามประเด็น 5 ประเด็นคุณภาพ (5Q) ดังนี้

             3.1 สำนักงานคุณภาพ (Quality Sesao SSKYST) หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยยึดมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย

               มาตรฐานที่ 1 การบริหารจัดการองค์การสู่ความเป็นเลิศ

               มาตรฐานที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

               มาตรฐานที่ 3 สัมฤทธิผลการบริหารและการจัดการศึกษา

             3.2 สถานศึกษาคุณภาพ (Quality School) หมายถึง สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ.2560 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2562)

             3.3 บุคลากรคุณภาพ (Quality Personel) หมายถึง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ประกอบด้วย

                   3.3.1 ผู้บริหารคุณภาพ หมายถึง ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา มีผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามระดับที่คาดหวังหรือสูงกว่าระดับที่คาดหวังตามตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ

                   3.3.2 ครูคุณภาพ หมายถึง ครูผู้สอนหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอน มีผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามระดับที่คาดหวังหรือสูงกว่าระดับที่คาดหวังตามตามมาตรฐานตำแหน่งและ/หรือมาตรฐานวิทยฐานะ

                   3.3.3 บุคลากรทางการศึกษาคุณภาพ หมายถึง ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษาอื่น    มีผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามระดับที่คาดหวังหรือสูงกว่าระดับที่คาดหวังตามตามมาตรฐานตำแหน่งและ/หรือมาตรฐานวิทยฐานะ

             3.4 ห้องเรียนคุณภาพ (Quality Classroom) หมายถึง ห้องเรียนที่มีบรรยากาศชั้นเรียนเชิงบวก ประกอบด้วยบรรยากาศทางกายภาพและมีบรรยากาศทางจิตวิทยาทั้งภายในและนอกห้องเรียน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างสรรค์นวัตกรรมระดับห้องเรียน

             3.5 ผู้เรียนคุณภาพ (Quality Student) หมายถึง ผู้เรียนที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ ความคิด พฤติกรรม หรือคุณลักษณะตามจุดประสงค์ของหลักสูตร บรรลุตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้

               โดยมุ่งให้เกิดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่มีคุณภาพตามแนวทาง

1 สำนักงาน 1 สถานศึกษา 1 ผู้บริหาร ครู บุคลากร 1 ห้องเรียน 1 ปี 1 นวัตกรรม สู่ความเป็นนวัตกร”

  1. 4. ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นขั้นการวิเคราะห์ผล หรือย้อนกลับมาพิจารณาว่าในกระบวนนั้น
    มีข้อบกพร่องอะไรบ้าง มีปัญหาประการใด โดยให้ข้อมูลย้อนกลับพิจารณาจากผลลัพธ์ หรือการบรรลุผลตาม เป้าหมายเพื่อพิจารณาหาสาเหตุว่ามีข้อบกพร่องในจุดใด แล้วปรับปรุงแก้ไขให้ได้กระบวนการที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำไปใช้ต่อไป
  2. เงื่อนไขความสำเร็จ (Condition of Success) ประกอบด้วย

      1) กระบวนการมีส่วนร่วม โดยการมีส่วนร่วมในขั้นการริเริ่มการพัฒนา การวางแผน
การดำเนินการ การประเมินผลการพัฒนา มีส่วนร่วมในข้อมูล ปรึกษาหารือ ร่วมตัดสินใจ มอบอำนาจตัดสินใจ เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ให้ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ด้วยเหตุและผล ให้เห็นถึง
ส่วนดีและส่วนเสียอย่างครบถ้วน

      2) การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยการร่วมมือ ร่วมใจกันเรียนรู้ทางวิชาชีพการศึกษา
ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ไปที่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการทำงานอย่าง
มืออาชีพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตลอดจนร่วมดำเนินการการวางแผนอย่างเป็นระบบ ตั้งเป้าหมายหรือมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ร่วมกันดำเนินงาน ร่วมสะท้อนผลการทำงาน และร่วมพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นวัฒนธรรมหรือชุมชนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

      3) การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการพัฒนาสร้างให้เกิดความสมดุลหรือมีปฏิสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกัน
ในระหว่างมิติต่าง ๆ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม จิตใจ รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ตลอดจนมีการจัดสรรทรัพยากรที่คำนึงถึงประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องในการดำเนินการ